SHARE
FLASH
16 มกราคม 2015

ธนาคารกลางสวิสฯ ยกเลิกการกำหนดกรอบล่างค่าเงินที่ระดับไม่ต่ำกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร

ผู้เขียน: ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ และ ธนกร ลิ้มวิทย์ธราดล
 
78160637.jpg


Event.png

Analysis.gif

ธนาคารกลาง ของสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ยกเลิกการกำหนดกรอบล่างของค่าเงินฟรังก์สวิสที่ระดับไม่ต่ำกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร และลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง (Deposit rate) เป็น -0.75% จาก -0.25%
Analysis.png Analysis.gif
  • กรอบล่างค่าเงินฟรังก์สวิสคืออะไร กรอบ ล่างดังกล่าวคือ การกำหนดไม่ให้ค่าเงินสวิสแข็งไปต่ำกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร โดย SNB ได้เริ่มต้นการกำหนดในปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงที่ยูโรโซนเกิดวิกฤติทางการเงิน ส่งผลให้ค่าเงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์มีระบบการเงินที่มีเสถียรภาพ และสกุลเงินสวิสถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe-haven)
  • SNB ยกเลิกการกำหนดกรอบล่างของค่าเงินฟรังก์ เนื่องจากไม่ต้องการมีภาระเพิ่มขึ้นในการแทรกแซงค่าเงินหากยูโรโซนออกมาตรการ QE โดย SNB กล่าวว่าการกำหนดกรอบล่างเป็นมาตรการที่ใช้ในยามที่ค่าเงินฟรังก์แข็งค่ามาก เกินไป (Overvaluation) ในช่วงมีความไม่แน่นอนในตลาดการเงินสูง ซึ่งในปัจจุบันถึงแม้ว่าค่าเงินฟรังก์ยังคงแข็งค่า แต่การ Overvaluation ได้ลดลงไปแล้วตั้งแต่มีการกำหนดกรอบล่าง นอกจากนี้การที่ยูโรโซนจะออกมาตรการซื้อพันธบัตรรัฐบาล (QE) ในเดือนมกราคมนี้ทำให้ค่าเงินยูโรยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง ซึ่งหากยังมีการกำหนดกรอบล่างของค่าเงินฟรังก์จะทำให้ SNB มีภาระในแทรกแซงโดยการเข้าซื้อเงินยูโรมากขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่องบดุลของ SNB ในการถือเงินยูโรเป็นจำนวนมาก
  • การลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit rate) ลงให้ติดลบมากขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้ค่าเงินฟรังก์แข็งค่า เนื่อง จากการยกเลิกการกำหนดกรอบล่างของค่าเงินฟรังก์ต่อยูโร จะส่งผลให้ค่าเงินฟรังก์แข็งค่าขึ้นได้อย่างเสรี และทำให้ค่าเงินฟรังก์กลับมาเป็น Safe-haven อีกครั้ง จึงมีแนวโน้มที่จะมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนมาก และจะกดดันให้ค่าเงินฟรังก์แข็งค่า ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก -0.25% เป็น -0.75% จะช่วยลดแรงกดดันจากภาวะเงินทุนไหลเข้า และชะลอการแข็งค่าของเงินฟรังก์ได้
Implication.png 

Implication.gif

  • ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้จากความผันผวนระยะสั้น ความ ผันผวนในตลาดการเงินอันเกิดจากการดำเนินการของ SNB ที่เหนือความคาดหมายส่งผลให้เกิดกระแสเงินทุนไหลไปยังประเทศที่มีความเสี่ยง ต่ำ (Risk-off sentiment) ได้แก่ สหรัฐฯ เยอรมนี เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ของประเทศเหล่านี้ลดลงทันทีภายหลังการยกเลิกกรอบล่าง (สหรัฐฯ -16 bps, เยอรมนี -2 bps)  ขณะที่ Yield ของประเทศที่มีความเสี่ยงในยูโรโซนอย่างอิตาลีและสเปนเพิ่มสูงขึ้น (+3 bps และ +4 bps) ซึ่งกระแสเงินทุนดังกล่าวน่าจะเข้าสู่ประเทศไทยด้วย เนื่องจากไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่งกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ ในเอเชียอื่นๆ ส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยอาจแข็งค่าขึ้นได้ในระยะสั้น นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวโดย SNB อาจทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในการผ่อนคลายนโยบายการเงินของตน (Currency War) เพื่อทำให้ค่าเงินอ่อน และเป็นการรักษาความได้เปรียบทางด้านการส่งออก ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คณะ กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดดอกเบี้ยลงได้
  • อีไอซียังคงมุมมองค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็น 33.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ โดยอีไอซีมองว่าค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สหรัฐฯ จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed funds rate ในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเปรียบ เทียบกับค่าเงินอื่นในภูมิภาค (รูปที่ 1) เนื่องจากทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างชาติยังไม่ชัดเจน (รูปที่ 2)
  • การแข็งค่าของเงินฟรังก์ช่วยส่งออกไทยไม่มากนัก โดย การส่งออกสินค้าไทยไปสวิสฯคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.6% ของการส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ตามอาจมีผลกระทบต่อผู้นำเข้าสินค้าหรูหรา เช่น เครื่องประดับ และนาฬิกา โดยการนำเข้าจากสวิสฯ คิดเป็น 3% ของนำเข้าทั้งหมด  ด้วยมุมมองดังกล่าวทำให้อีไอซีคงประมาณการส่งออกของไทยในปีนี้ที่จะขยายตัว ได้ 0.8%

 

รูปที่ 1: ค่าเงินบาท ณ วันที่ 15 มกราคม 2015 แข็งค่าสวนทางกับค่าเงินในภูมิภาค

8550_20150116155325.png

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ CEIC

 

รูปที่ 2: ทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างชาติในตลาดการเงินไทยยังไม่ชัดเจน 

8550_20150116155325.png

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Set Smart และ ThaiBMA

 

 

Get the additional info

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ