SHARE
SCB EIC ARTICLE
30 เมษายน 2010

มารู้จักกับ "กองทุนเหมืองแร่"อีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุน

ตอนนี้นักวิเคราะห์หลายคนเริ่มให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น โดยได้อานิสงส์ผลพวงจากประเทศจีนประเทศอินเดีย หรือกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นนั่นเอง นอกจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่แล้ว ยังมีนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทั่วโลกใช้กัน โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำประปา รถไฟหรือแม้กระทั่งการก่อสร้างทางด่วน ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้งสิ้น หากมองในแง่เม็ดเงินแล้วแน่นอนว่าโครงการดังกล่าวจะต้องมีเงินลงทุนจากหลากหลายภาคส่วนเฮโลเข้ามา แต่ในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยในการผลิตที่สำคัญนั้นมีอยู่จำกัดและมีความต้องการสูงอีกด้วย

ผู้เขียน:  หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน

 452492171.jpg

ตอนนี้นักวิเคราะห์หลายคนเริ่มให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น โดยได้อานิสงส์ผลพวงจากประเทศจีนประเทศอินเดีย หรือกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นนั่นเอง นอกจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่แล้ว ยังมีนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทั่วโลกใช้กัน โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำประปา รถไฟหรือแม้กระทั่งการก่อสร้างทางด่วน ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ทั้งสิ้น หากมองในแง่เม็ดเงินแล้วแน่นอนว่าโครงการดังกล่าวจะต้องมีเงินลงทุนจากหลากหลายภาคส่วนเฮโลเข้ามา แต่ในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยในการผลิตที่สำคัญนั้นมีอยู่จำกัดและมีความต้องการสูงอีกด้วย

โดย สุทยุต เชื้อพานิช ผู้จัดการ ฝ่ายลงทุน - ตราสารทุนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมุมมองเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ในอนาคตว่า สินค้าโภคภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในจีนเท่านั้น ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรโลกความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นสิ่งที่ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีความต้องการสูง


แต่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างช้าๆ เนื่องจากการขาดการลงทุนระยะยาว ใช้เวลายาวนานระหว่างการวางแผนและการผลิตแร่คุณภาพต่ำลง และที่สำคัญมีปัญหาการพัฒนาแหล่งแร่ใหม่ๆ จึงส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาสูงขึ้น


ทั้งนี้การขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินฟราสตรักเจอร์ที่หลายรัฐบาลหลายประเทศทั้วโลกพยายามผลักดันเป็นนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่น

  • Merrill Lynch  ประมาณการใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สูงถึง 22 ล้านล้าน
    • โดย ประเทศจีน มีงบประมาณ 585,000 ล้านเหรียญสหรัฐใน 2 ปี เทียบเท่ากับ 14% ของ GDP ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในอีก 10 ปีข้างหน้า
    • บราซิล กำลังจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2014 และเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 2016 ซึ่งบราซิลมีแผนที่จะลงทุนมากกว่า 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในโครงสร้างพื้นฐาน และด้านพลังงาน
    • อินเดีย มีแผนที่จะเพิ่มงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นสองเท่า ประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 5 ปี 
  •  ส่งผลให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ได้แก่ ทองแดง, อลูมิเนียม, สังกะสี, นิกเกิล และแร่เหล็ก มีสูงมาก แน่นอนว่าความต้องการนั้นตรงกันข้ามกับการผลิตสินค้าโดยสินเชิง ไม่เว้นแม้แต่สินค้าหรือการผลิตที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องใช้ทองแดงเป็นส่วนประกอบ
  • โดยการสร้างโรงไฟฟ้า 800 เมกะวัตต์จะต้องใช้ทองแดง 100 ตัน เมื่อเทียบกับ การติดตั้งกังหันลมที่ผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณใกล้เคียงกันจะต้องใช้ทองแดง 1,200 ตัน
  • ส่วนรถยนต์ธรรมดาใช้ทองแดง 8 ถึง 33 กิโลกรัมในการผลิตเมื่อเทียบกับ รถยนต์ไฮบริดจะใช้ทองแดงเพิ่มขึ้นอีก 33 กิโลกรัมสำหรับตึกสำนักงานจะใช้ทองแดงเกือบ 3 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร เมื่อเทียบกับ อาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม (green office building) ใช้ทองแดงถึง 6 กิโลกรัมต่อตารางเมตร


สุทยุต กล่าวอีกว่า ในด้านการผลิต ยกตัวอย่างเช่นการผลิตทองแดงนั้น พบว่า Escondida เหมืองทองแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรายงานถึงคุณภาพที่ลดลงของสินแร่ทองแดง BHP Billiton รายงานว่าผลผลิตโดยรวมของเหมืองลดลง 20% ในปี 2552 จากคุณภาพที่ลดลงของสินแร่และปัญหาทางเทคนิค ส่วนผลผลิตทองแดงทั่วโลกเพิ่มขึ้น 66% ตั้งแต่ปี 2545 โดยครึ่งหนึ่งมาจากปริมาณการผลิตที่มาจากการพัฒนาเหมืองแห่งใหม่ๆ

 

ทั้งนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากแหล่งbrownfield มาจาก Escondida, Grasberg, Chuqui, El Teniente และ Morenci อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา เหมืองทั้ง5 แห่งนี้ได้รับผลกระทบจากผลผลิตที่น้อยลงอย่างมาก แสดงถึงการขยายตัวที่เต็มที่แล้ว

 

โดยโครงการผลิตทองแดงในอนาคตนั้น ต้องใช้ระยะเวลานานในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิต โดยสูงสุดใช้เวลาถึง 10 ปี โครงการเหมืองใหม่ๆ ต้องการเงินลงทุนเป็นจำนวนมหาศาล

  • โครงการใหม่หลายแห่งอยู่ในประเทศที่ไม่มีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (ได้แก่ สาธารณรัฐคองโก และปากีสถาน)
  • โครงการในประเทศที่พัฒนาแล้วก็เผชิญปัญหาใหญ่ได้เช่นกันกรณีเหมือง Pebble และเหมือง Resolution ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความอ่อนไหวด้านนิเวศวิทยาในอะแลสกา เป็นเหตุให้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากภาคประชาชน
  • โครงการหลายแห่งที่ถูกวางแผนไว้แล้วเริ่มเผชิญความไม่แน่นอนในการดำเนินการ เนื่องจากประสบปัญหา เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงทางการเมือง ความเสี่ยงทางเทคโนโลยีและการหาแหล่งเงินทุน

 

สรุปแล้ว บทบาทระหว่างปริมาณการผลิตและปริมาณความต้องการยังคงมีความน่าสนใจมากทั้งในระยะกลางและระยะยาว

  • ในการใช้งานของสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทนั้นไม่สามารถใช้สิ่งอื่นมาทดแทนได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐาน)
  • รัฐบาลได้กันเงินไว้เป็นปริมาณมากเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • สินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดมีปริมาณจำกัดอยู่แล้ว

 

อุตสาหกรรมเหล็กและเหมืองแร่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจที่สุดในตลาดด้านทรัพยากรโลก

  • ในทางตรงข้ามกับอุตสาหกรรมพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ไม่สามารถใช้สิ่งอื่นมาทดแทนได้
  • ในทางตรงข้ามกับอุตสาหกรรมด้านเกษตรกรรม การตอบสนองทางการผลิตเป็นไปได้อย่างช้ามาก

 

การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ทำกำไรในอุตสาหกรรมเหล็กและเหมืองแร่ ขณะนี้มีความน่าสนใจกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง

  • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องพุ่งขึ้นอีกเพื่อดึงราคาหุ้นระดับราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่ได้ปรับเข้ากับสถานการณ์จริง
  • นักลงทุนมีผลพลอยได้จากปริมาณหุ้นที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ถ้าลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง
  • การลงทุนในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจอย่างแร่เหล็กและถ่านหินมีเพียงทางเดียวคือการซื้อหุ้นของบริษัท

"สินค้าโภคภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในจีนเท่านั้น"

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ