SHARE
SCB EIC ARTICLE
17 ธันวาคม 2009

ธุรกิจโรงสี…เฟืองจักรสำคัญในธุรกิจข้าว

จากการที่ทีมวิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจได้มีโอกาสไปร่วมเยี่ยมเยียนลูกค้าธุรกิจโรงสี กับกลุ่มธุรกิจพิเศษ และทีม BRC จังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ ได้รับความรู้และประสบการณ์จริงในเชิงธุรกิจมากมาย ได้เห็นข้าวเปลือกมูลค่านับร้อยล้านบาทกองใหญ่ ได้เห็นเครื่องสีข้าวและเครื่องยิงเมล็ดข้าวมูลค่านับสิบล้านบาท จึงอยากแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ผู้เขียน: ภารดี วิวัฒนะประเสริฐ

 454367131.jpg

จากการที่ทีมวิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจได้มีโอกาสไปร่วมเยี่ยมเยียนลูกค้าธุรกิจโรงสี กับกลุ่มธุรกิจพิเศษ และทีม BRC จังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ ได้รับความรู้และประสบการณ์จริงในเชิงธุรกิจมากมาย ได้เห็นข้าวเปลือกมูลค่านับร้อยล้านบาทกองใหญ่ ได้เห็นเครื่องสีข้าวและเครื่องยิงเมล็ดข้าวมูลค่านับสิบล้านบาท จึงอยากแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้อ่านทุกท่านค่ะ

  • ธุรกิจโรงสีข้าวเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างปิด หมายความว่าการจะเริ่มดำเนินธุรกิจโรงสีนั้นมิใช่มีแต่เงินเพียงอย่างเดียว
  • ความรู้ที่ผู้ประกอบการจะต้องมีเป็นอันดับหนึ่งก็คือ ต้องดูข้าวให้เป็น มิฉะนั้นการทำธุรกิจก็จะจอดตั้งแต่ยกแรกแล้ว
  • เนื่องจากข้าวแต่ละพันธุ์นั้นมีราคาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และพันธุ์ข้าวก็มีการปรับปรุงพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องติดตามเรื่องข้าวกันอย่างใกล้ชิด ขอบอกเพิ่มกันอีกว่าการดูข้าวนั้นต้องอาศัยประสบการณ์ล้วนๆ จริงๆ เพราะต้องดูด้วย 2 ตาและใช้เฉพาะ 2 มือเท่านั้น
  • แหล่งข้าวเปลือกก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โรงสีส่วนใหญ่ค้าขายกับชาวนาหรือตัวแทนมาช้านาน ในช่วงที่ข้าวออกมากๆ รถบรรทุกหน้าโรงสีจะติดเป็นแถวยาวกันเป็นกิโลเลยทีเดียว
  • โรงสีถือเป็นเฟืองจักรหนึ่งที่สำคัญมากในธุรกิจข้าว ในปัจจุบัน ความสามารถในการต่อรองของโรงสีโดยเฉพาะโรงสีขนาดใหญ่ที่สามารถกักตุนข้าวไว้ได้นั้นมีมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ส่งออกข้าวไม่กล้าที่จะรับออเดอร์จากต่างประเทศในระยะยาวได้ เนื่องจากเกรงว่าจะหาข้าวเพื่อส่งมอบไม่ได้และมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา ในขณะเดียวกัน ด้านฝั่งเกษตรกรก็มีความจำเป็นที่จะต้องขายข้าวให้แก่โรงสี เนื่องจากความชื้นจะทำให้คุณภาพข้าวต่ำลง จึงต้องรีบขายข้าวเมื่อเริ่มมีผลผลิตออกมา

คำถามยอดนิยมตอนนี้คงหนีไม่พ้นว่า นโยบายของรัฐที่เปลี่ยนจากการ "รับจำนำ" มาเป็น "การประกันราคา" นั้น โรงสีชอบอย่างไหนมากกว่ากัน

คำตอบคือ แล้วแต่ว่าโรงสีนั้นได้รับผลประโยชน์จากด้านไหนมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าโรงสีใดรับสีข้าวให้แก่รัฐบาล โรงสีนั้นก็ไม่ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนของตนเองเพื่อซื้อข้าวเปลือกมาสี   จะทำก็แต่เพียงเก็บค่าสีข้าวจากรัฐบาล แถมยังลงทุนทำโกดังให้รัฐเช่าเก็บข้าวเป็นปีๆ   ถ้าเป็นกรณีนี้ ก็คงจะตอบว่าการรับจำนำดีกว่า  แต่ถ้าเป็นโรงสีทั่วไปคงจะชอบการประกันราคามากกว่า เนื่องจากจะไม่ถูกแทรกแซงด้านปริมาณในตลาดค้าข้าว  อีกทั้งสามารถทำกำไรจากการสีข้าวได้มากกว่ารับสีข้าวให้รัฐบาล  และหากมองเผื่อผู้เสียภาษีอย่างเราๆ  รัฐบาลใช้เงินงบประมาณน้อยกว่าในกรณีประกันราคาด้วยค่ะ

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ