SHARE

ส่องธุรกิจค้าปลีก…รับมืออย่างไรจาก Covid-19

การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การระบาดในแต่ละระยะ

LINE_sharebutton[1]-(1).JPG

retail.jpg

การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การระบาดในแต่ละระยะ โดยในช่วงแรกที่เริ่มมีการระบาด ผู้บริโภคจะมีความต้องการสินค้าในการป้องกันสุขภาพเพิ่มขึ้น และต่อมาเมื่อถึงระยะที่เริ่มมีการระบาดกันเองภายในประเทศ ผู้บริโภคจะมีความต้องการกักตุนสินค้าจำเป็นพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และเมื่อถึงระยะที่การระบาดเพิ่มมากขึ้นเป็นวงกว้างจนภาครัฐต้องนำมาตรการต่าง ๆ อาทิ การปิดเมือง การจำกัดการเดินทางมาใช้ ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและบริการออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

สถานการณ์ Covid-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคในประเทศทั้งจากความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงมาก ส่งผลให้ EIC คาดการณ์มูลค่าตลาดค้าปลีกปี 2020 จะหดตัวที่ -14% หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปราว 5
แสนล้านบาท (สมมติฐานว่าธุรกิจค้าปลีกปิดดำเนินการประมาณ 2 เดือนและสถานการณ์
การติดเชื้อเริ่มคลี่คลายจนสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ตามปกติในไตรมาส 3 แต่ยอดขายยังอาจชะลอตัวในช่วงแรกจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภค แต่จะเริ่มกลับมาเร่งตัวได้มากขึ้น
ในไตรมาส 4)

EIC เสนอกลยุทธ์สำคัญในการรับมือของผู้ประกอบการค้าปลีก คือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าและโลจิสติกส์ 2) เน้นขายออนไลน์และเพิ่ม customer engagement ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น 3) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคและพนักงานเป็นอันดับแรกและ 4) เตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการภายหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลาย


Button-01.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ