SHARE
FLASH
06 มีนาคม 2018

Italexit ไม่น่ากังวล แม้พรรค M5S ผู้ต่อต้าน EU ชนะการเลือกตั้งอิตาลี

ผลการนับคะแนนในคืนวันเลือกตั้งที่ 4 มี.ค. (ตามเวลาอิตาลี) เผยว่าพรรค Five Star Movement (M5S) ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านสหภาพยุโรป (EU) มีคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 32% ขณะที่พรรค Democratic Party (PD) ของอดีตนายกรัฐมนตรี Matteo Renzi ผู้มีแนวคิดสนับสนุน EU ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 2 ที่ 19% ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีพรรคการเมืองใดครองเสียงได้เกิน 40% ส่งผลให้ยังต้องมีการเจรจาเพื่อรวมกลุ่มจัดตั้งรัฐบาลร่วมในระยะต่อไป

ผู้เขียน: พิมพ์นิภา บัวแสง

 

iStock-800355008.jpg

 

 

Event.png

885_20100622103059.gif

  • ผลการนับคะแนนในคืนวันเลือกตั้งที่ 4 มี.ค. (ตามเวลาอิตาลี) เผยว่าพรรค Five Star Movement (M5S) ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านสหภาพยุโรป (EU) มีคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 32% ขณะที่พรรค Democratic Party (PD) ของอดีตนายกรัฐมนตรี Matteo Renzi ผู้มีแนวคิดสนับสนุน EU ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 2 ที่ 19% ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีพรรคการเมืองใดครองเสียงได้เกิน 40% ส่งผลให้ยังต้องมีการเจรจาเพื่อรวมกลุ่มจัดตั้งรัฐบาลร่วมในระยะต่อไป

  • นับตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤตในปี 2008 จนถึงช่วงต้นปี 2017 กระแสต่อต้าน EU ในอิตาลีและความนิยมของพรรค M5S ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาในภาคธนาคารที่มีระดับหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมสูงถึง 16% ในปี 2016 โดยอิตาลีเคยประสบปัญหาจากกฎเกณฑ์ของ EU ในประเด็นที่รัฐบาลอิตาลีต้องการนำเงินจากภาษีของประชาชนไปช่วยเหลือภาคธนาคารที่กำลังประสบปัญหา (bail out) แต่เนื่องจากกฎเกณฑ์ของ EU กำหนดให้ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของธนาคารที่ประสบปัญหาต้องรับผลสูญเสียอย่างน้อย 8% ของหนี้สินของธนาคาร ก่อนที่ภาครัฐจะใช้เงินเข้าช่วยเหลือได้ (bail in) ซึ่งจะทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก โดยมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ออกมาแสดงความไม่พอใจและต้องการให้อิตาลีออกจาก EU อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวได้คลี่คลายลงภายหลังจากที่รัฐบาลอิตาลีสามารถหาช่องทางช่วยเหลือธนาคารเหล่านั้น และช่วยระงับไม่ให้เกิดวิกฤตจากปัญหาหนี้ดังกล่าวเอาไว้ได้
Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • อีไอซีมองว่าการแยกตัวออกจาก EU ของอิตาลี (Italexit) ไม่เป็นความเสี่ยงที่น่ากังวลในปี 2018 แม้พรรค M5S สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ อีไอซีมองว่าการแยกตัวออกจาก EU ของอิตาลี (Italexit) ไม่เป็นความเสี่ยงที่น่ากังวลในปี 2018 แม้พรรค M5S สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เศรษฐกิจอิตาลีที่เติบโตสอดคล้องกับประเทศอื่นๆในยูโรโซนนับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา สนับสนุนให้ระดับหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมของอิตาลีลดลงจาก 16.4% ในปี 2016 สู่ระดับ 14.2% ในไตรมาส 3 ปี 2017 ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่เติบโตดี ประกอบกับความกังวลในปัญหาหนี้เสียที่เริ่มบรรเทาลง ช่วยให้ชาวอิตาลีมีความพึงพอใจในการอยู่ร่วมกับ EU มากขึ้น สะท้อนผ่านความนิยมในเงินสกุลยูโรของชาวอิตาลีเพิ่มขึ้นโดยอยู่ที่ 45% ในปี 2017 จาก 41% ในปี 20161 และส่งผลให้การแยกตัวออกจาก EU ไม่เป็นประเด็นสำคัญที่พรรคการเมืองฝ่ายต่อต้าน EU ของอิตาลีใช้ในการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะ Di Maio ผู้นำคนใหม่ของพรรค M5S ที่ได้แสดงวิสัยทัศน์ว่าต้องการอยู่ใน EU ต่อไป แต่อาจมีการจัดตั้งประชามติเพื่อแก้ไขความสัมพันธ์บางประการที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจอิตาลี ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจอิตาลีที่เพิ่มสูงขึ้นสะท้อนผ่านส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีและพันธบัตรเยอรมนี[2]ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ EU อนุมัติเงินช่วยเหลือ Monte dei Pashi ซึ่งเป็นธนาคารที่ประสบปัญหาหนี้เสียร้ายแรงที่สุดในอิตาลี (รูปที่ 1)

     

  • อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB ที่เร็วเกินคาด อาจทำให้ปัญหาหนี้เสียและแนวคิดต่อต้าน EU ปะทุขึ้นอีกครั้ง แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและความเสี่ยงทางการเมืองในยูโรโซนที่ลดลงสนับสนุนให้ ECB สามารถเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB ที่เร็วเกินคาด จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมในอิตาลีเพิ่มขึ้นเร็วและกระทบต่อปัญหาหนี้เสียที่มีอยู่เดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาหนี้เสียดังกล่าวอาจจุดประกายแนวคิดต่อต้าน EU ในอิตาลีให้กลับมาได้อีกครั้ง และอาจนำไปสู่ Italexit ในระยะต่อไป ทั้งนี้ อีไอซีคาดว่า ECB อาจสิ้นสุดมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรได้ภายในปี 2018 และเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2019

Implication.png

886_20100622103105.gif

  • เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องในปี 2018 จากความเสี่ยงทางการเมืองในอิตาลีที่ลดลง ความกังวลต่อ Italexit ที่ผ่อนคลายลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มุมมองการเติบโตทางเศรษฐกิจยูโรโซนเพิ่มสูงขึ้น โดยอีไอซีมองว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในปี 2018 จะเติบโตได้ราว 2.3% ต่อเนื่องจากปี 2017 ที่เติบโตราว 2.5% และจะสนับสนุนให้ความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยไปยูโรโซนเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยไทยมีสัดส่วนในการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวถึง 9% ของส่งออกทั้งหมด นำโดย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ (รูปที่ 2)

  • เงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องในปี 2018 จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจยูโรโซนที่มีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่ง ด้วยความเสี่ยงทางการเมืองที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB ที่อาจยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงินได้เร็วขึ้น สนับสนุนให้เงินยูโรยังมีแนวโน้มแข็งค่าได้ต่อที่ 1.28 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อยูโรในช่วงสิ้นปี 2018 จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 1.24 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อยูโร อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทต่อยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยอาจอยู่ที่ราว 39 บาทต่อยูโรในช่วงสิ้นปี 2018 จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 38.7 บาทต่อยูโร เนื่องจากเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นได้ช้ากว่าการแข็งค่าของเงินยูโรเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ

 

[1] ผลสำรวจโดย Eurobarometer

[2] ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีและพันธบัตรเยอรมนีที่ลดลงสะท้อนว่านักลงทุนเชื่อมั่นในเศรษฐกิจอิตาลีมากขึ้นเมื่อเทียบกับเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดใน EU 

 

รูปที่1: ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจอิตาลีที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ EU อนุมัติเงินช่วยเหลือ Monte dei Pashi ซึ่งเป็นธนาคารที่ประสบปัญหาหนี้เสียร้ายแรงที่สุดในอิตาลี

 

1.jpg

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ Bloomberg

 

รูปที่2: เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องในปี 2018 จะสนับสนุนให้ความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยไปยูโรโซนเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

 

2.jpg

 

 

 

 

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์

 

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ