SHARE
FLASH
08 พฤศจิกายน 2017

กนง. คงดอกเบี้ย มองเศรษฐกิจไทยเติบโตดีต่อเนื่อง แนะจับตาเงินบาทผันผวนสูง

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 8 พฤศจิกายน 2017

ผู้เขียน: พิมพ์นิภา บัวแสง 

 

Analysis.png

keypoint.jpg

    • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 8 พฤศจิกายน 2017
    • กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ด้านการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่ส่งผ่านได้อย่างทั่วถึง รายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจึงยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน รวมทั้งกลุ่ม SMEs อาจยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ด้านการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่การลงทุนภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจแม้ชะลอลงบ้าง
    • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามราคาอาหารสดและราคาพลังงานที่ทยอยปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิต รวมถึงผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่อาจมีต่อค่าจ้างแรงงานในระยะข้างหน้า
    • เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทรงตัวจากการประชุมครั้งก่อน ส่วนเงินบาทเทียบกับสกุลคู่ค้าคู่แข่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับในระยะข้างหน้า อัตราแลกเปลี่ยนจะยังมีแนวโน้มผันผวนสูงจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก โดย กนง. มองว่าควรติดตามสถานการณ์ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด
    • กนง. มองเศรษฐกิจไทยยังเสี่ยงจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ อาทิ ผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

 

Implication.png

886_20100622103105.gif

อีไอซีคาด กนง. คงดอกเบี้ยตลอดปี 2017

  • อีไอซีคาด กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ต่อเนื่องถึงปี 2018 เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไทยที่ยังคงขยายตัวแบบไม่ทั่วถึง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป แม้จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย อีกทั้งความไม่แน่นอนของปัจจัยที่จะช่วยผลักดันอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ เช่น ปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองต่อราคาน้ำมันดิบ และผลของมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่อค่าจ้าง
  • นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงปลายปีน่าจะมีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้ว่าผลกระทบอาจลดน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ในระยะต่อไป การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะยังคงมีแรงต้านจากการบริโภคที่ยังคงขยายตัวอย่างช้าๆ ปัญหาหนี้สูง และความเสี่ยงจากการเมืองในประเทศ

 

ตารางสรุปคำแถลงการณ์ของ ธปท.  เทียบกับการประชุมครั้งก่อน 

 

หัวข้อ


การประชุมครั้งก่อน
 

(27 ก.ย. 2017)

 

การประชุมครั้งนี้

(8 พ.ย. 2017)

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนขึ้นจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้นในหมวดบริการและสินค้าคงทน แม้โดยรวมจะยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็งนัก โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับดีขึ้นในหลายธุรกิจ ขณะที่การลงทุนภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแม้จะชะลอลงบ้างในระยะสั้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ อาทิ ผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ด้านการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่อง แต่รายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน รวมทั้งธุรกิจ SMEs อาจยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่การลงทุนภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจแม้ชะลอลงบ้างตามการเบิกจ่าย ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ ผลกระทบจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

สถานการณ์เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นช้ากว่าที่ กนง. ประเมินไว้เดิมเล็กน้อย จากราคาอาหารสดที่ปรับลดลงตามผลผลิตผักและผลไม้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีทิศทางปรับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิต และมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่อาจมีต่อค่าจ้างแรงงานในระยะข้างหน้า

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามราคาอาหารสดและราคาพลังงานที่ทยอยปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิต รวมถึงผลกระทบจากมาตรการ จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่อาจมีต่อค่าจ้างแรงงานในระยะข้างหน้า

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม

1. นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ

2. ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

3. ความสามารถชำระหนี้ของธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม

4. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

5. การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก

6. สถานการณ์แรงงานต่างด้าว

1. นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ

2. ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

3. ความสามารถชำระหนี้ของธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อม

4. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

5. การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก

6. สถานการณ์แรงงานต่างด้าว

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%

มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%

เหตุผลของกนง.

นโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไป โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่อง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังไม่กระจายตัวเท่าที่ควร

นโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อไป โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้นขณะที่อุปสงค์ในประเทศขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง แต่รายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน


EIC_Infographic_policy_rate_nov20171108.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ