SHARE
FLASH
02 พฤศจิกายน 2017

กสทช. เดินเครื่องประมูลคลื่นความถี่ อีไอซีชี้ยังมีแนวโน้มแข่งขันสูง

กสทช. เผยร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ที่กำลังจะหมดอายุลงในเดือนกันยายน 2018 โดยกำหนดราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่น 1800 MHz ที่ 37,457 ล้านบาท และคลื่น 900 MHz ที่ 37,988 ล้านบาท ซึ่งในร่างหลักเกณฑ์ฯ ไม่มีการห้ามผู้ประกอบการรายใดเข้าร่วมการประมูลแต่ได้กำหนดอัตราค่าปรับสูงขึ้นจาก 5% เป็น 15% ของราคาขั้นต่ำ ทั้งนี้ คาดว่าการประมูลคลื่นจะเสร็จสิ้นภายในช่วงเดือนพฤษภาคม 2018 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการโอนย้ายลูกค้า

ผู้เขียน:  ภูริพัฒน์ โสภณคีรีรัตน์

 

iStock-829068326.jpg

 

Event.png

885_20100622103059.gif

  • กสทช. เผยร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ที่กำลังจะหมดอายุลงในเดือนกันยายน 2018 โดยกำหนดราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่น 1800 MHz ที่ 37,457 ล้านบาท และคลื่น 900 MHz ที่ 37,988 ล้านบาท ซึ่งในร่างหลักเกณฑ์ฯ ไม่มีการห้ามผู้ประกอบการรายใดเข้าร่วมการประมูลแต่ได้กำหนดอัตราค่าปรับสูงขึ้นจาก 5% เป็น 15% ของราคาขั้นต่ำ ทั้งนี้ คาดว่าการประมูลคลื่นจะเสร็จสิ้นภายในช่วงเดือนพฤษภาคม 2018 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการโอนย้ายลูกค้า

Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • การประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz ยังคงมีแนวโน้มแข่งขันสูง เพื่อรองรับการให้บริการข้อมูลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน คนไทยมีการใช้งานข้อมูลเฉลี่ยสูงถึง 5GB/คน/เดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 25 เท่าจากช่วง 4 ปีก่อนหน้า ทั้งนี้ คลื่นความถี่ทั้งสองคลื่นต่างมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน โดยคลื่น 1800 MHz เป็นคลื่นความถี่สูงและเหมาะสำหรับการให้บริการที่ต้องการความเร็วสูงอย่างบริการ 5G ในอนาคต สะท้อนให้เห็นจากการทดสอบเทคโนโลยี 5G ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งเป็นการทำบนคลื่นความถี่สูงทั้งหมด เช่น คลื่น 3.5GHz ในขณะที่คลื่น 900 MHz เป็นคลื่นความถี่ต่ำย่านสุดท้ายที่จะมีการประมูล1


  • อีไอซีมองว่าโอกาสที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้ามาแข่งขันเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือของไทยมีแนวโน้มที่จะเริ่มเข้าใกล้จุดอิ่มตัว โดยปัจจุบันอยู่ที่ 138% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วที่ 127% ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจำนวนเลขหมายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ไม่มากทั้งในระยะกลางและยาว อย่างไรก็ดี หากมีผู้เล่นรายใหม่ จะต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์มาก่อน เช่น ในกรณีของสิงคโปร์ที่ค่ายมือถือรายใหม่อย่าง TPG เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของออสเตรเลียมาก่อน เป็นต้น

ไม่นับรวมคลื่น 700 MHz ที่ปัจจุบันใช้เพื่อประกอบกิจการทีวี

Implication.png

886_20100622103105.gif

  • การประมูลคลื่นความถี่อาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงิน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเร่งระดมทุนในระยะสั้น และหาแนวทางเพิ่มรายได้จากช่องทางอื่นในระยะยาว โดยอีไอซีประเมินว่าต้นทุนค่าคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ที่จะประมูลในปี 2018 มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) ของค่ายมือถือ ซึ่งมีโอกาสเพิ่มสูงถึง 6 เท่าภายในระยะเวลา 4 ปีทำให้ค่ายมือถือต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ เพื่อป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่อง นอกจากนี้ เมื่อประมูลคลื่นได้แล้ว ผู้ประกอบการควรแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่เพิ่มเติม โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าธุรกิจมากขึ้น เช่น SK telecom ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ของเกาหลีใต้ที่ให้บริการ IoT โซลูชั่นสำหรับทำ smart farm และ smart factory รวมถึง at&t ผู้ให้บริการมือถือในสหรัฐฯ ที่ให้บริการโซลูชั่นเพื่อติดตามและบริหารจัดการการขนส่งสินค้า เป็นต้น
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ