SHARE
FLASH
20 กุมภาพันธ์ 2017

อีไอซีมองเศรษฐกิจไทย 2017 โตดีขึ้น แม้ไตรมาส 4/2016 ย่อตัวชั่วคราว

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 4 ปี 2016 ขยายตัว 3.0%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า) หรือเติบโต 0.4% หากเทียบกับไตรมาสก่อนแบบปรับฤดูกาล ทำให้ GDP ของไทยในปี 2016 ขยายตัวได้ที่ 3.2%YOY

ผู้เขียน: ยุวาณี อุ้ยนอง และ พิมพ์นิภา บัวแสง 

Event.png

885_20100622103059.gif

  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 4 ปี 2016 ขยายตัว 3.0%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า) หรือเติบโต 0.4% หากเทียบกับไตรมาสก่อนแบบปรับฤดูกาล ทำให้ GDP ของไทยในปี 2016 ขยายตัวได้ที่ 3.2%YOY
Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • แรงกดดันระยะสั้นในภาคการท่องเที่ยวฉุดการเติบโต การส่งออกภาคบริการขยายตัว 0.4%YOY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงที่ 7.7%YOY สอดคล้องกับตัวเลขการผลิตสาขาโรงแรมและภัตตาคารก็ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 4.8%YOY สาเหตุมาจากผลของการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมายที่ส่งผลต่อภาพรวมการท่องเที่ยวทั้งไตรมาสและบรรยากาศการใช้จ่ายในประเทศที่ซบเซาลงในช่วงเวลาเดียวกัน

  • การบริโภคสะดุด - การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ขยายตัว 2.5%YOY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 3.0%YOY จากการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนที่กลับมาหดตัวหลังเร่งบริโภคไปในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะการซื้อยานพาหนะหดตัวลง 9.8%YOY ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงไม่ฟื้นตัว โดยหดตัว 0.4%YOY จากการลงทุนเพื่อการผลิตที่ยังซบเซา ทั้งการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่หดตัวสูงถึง 11.2%YOY และการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่หดตัว 0.4%YOY ขณะที่การลงทุนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยที่ 1.9%YOY สะท้อนความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังอ่อนแอของภาคเอกชน

  • การกลับมาของภาคการส่งออกสินค้าช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทย การส่งออกของไทยในไตรมาส 4 ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเติบโตได้ที่ 1.4%YOY นับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 2 ปี โดยยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
Implication.png

886_20100622103105.gif

  • อีไอซีคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2017 ที่ 3.3% แม้การเติบโตในไตรมาส 4 จะต่ำที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา แต่อีไอซียังคงมุมมองการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปี 2017 ไว้ที่ 3.3%YOY โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวจากผลกระทบจากปัจจัยชั่วคราว และจะเริ่มขยายตัวดีขึ้นเป็นลำดับจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวและแรงหนุนของการใช้จ่ายในประเทศ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนมกราคมกลับมาขยายตัวได้ที่ 6.5%YOY หลังจากหดตัว 0.9%YOY ในไตรมาส 4/2016 และสำหรับการบริโภคภาคเอกชนก็มีโอกาสเติบโตต่อจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ส่งออกและเกษตรกรตามการส่งออกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ฟื้นตัว ซึ่งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ฟื้นตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016

  • การเติบโตในครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรก โดยจะมีแรงส่งจากกำลังซื้อภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น หลังครัวเรือนบางส่วนหมดภาระการผ่อนชำระรถยนต์จากโครงการรถคันแรกซึ่งจะเห็นผลชัดในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะเดียวกัน ภาครัฐยังคงมีแนวโน้มอัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยบวกใหม่อย่างงบกลางปี 2017 มูลค่า 1.9 แสนล้านบาทที่ได้รับการอนุมัติไปเมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา นับเป็นเม็ดเงินที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจราว 1.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นราว 1.3% ของ GDP ณ ราคาปัจจุบัน ผ่านการลงทุนในโครงการขนาดเล็กในต่างจังหวัดทั่วประเทศ อีไอซีมองว่าการเพิ่มเข้ามาของงบกลางฯ ซึ่งคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จะช่วยผลักดันอัตราการเติบโตให้สูงกว่าที่คาดได้

  • ปี 2017 ยังคงเต็มไปด้วยความเสี่ยงจากภายนอกที่อาจทำให้การส่งออกเติบโตได้ต่ำกว่าคาด ทั้งจากนโยบายกีดกันทางการค้าของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่หากถูกนำมาใช้จริงกับจีนอาจส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการส่งออกไทยอาจสะดุดลง เนื่องจากไทยอยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของสินค้าส่งออกจากจีนไปสหรัฐฯ โดยสินค้าขั้นกลางที่ไทยส่งออกไปจีนมีสัดส่วนกว่า 43% ของการส่งออกไปจีนทั้งหมด ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจจีนเองก็ยังอยู่ในช่วงชะลอตัวและยังมีปัญหาด้านเสถียรภาพในภาคการเงิน แม้หลายฝ่ายจะเชื่อว่ารัฐบาลจีนจะควบคุมปัญหาไว้ได้ แต่ความเป็นไปได้ของกรณีเลวร้ายยังไม่เป็นศูนย์ นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปที่มีทั้งการเจรจาข้อตกลง Brexit และการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี แม้ที่ผ่านมา Brexit จะยังไม่ส่งผลกับไทยโดยตรง แต่หากความเป็นสหภาพยุโรปแตกร้าวเพิ่มเติมในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงย่อมนำไปสู่การสูญเสียความเชื่อมั่นอย่างมีนัยสำคัญ ตามมาด้วยความผันผวนระดับสูงในตลาดการเงินโลกอย่างฉับพลัน และความสามารถในการเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจคู่ค้าที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 3 ของไทย ทั้งนี้ หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลง ซึ่งกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย และมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงรายได้ผู้ส่งออก รายได้เกษตรกร การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการบริโภคในประเทศที่อาจชะลอลงต่ำกว่าที่คาดได้

 

EIC_Infographic_THA_GDP4q2016.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ