SHARE
FLASH
06 มกราคม 2017

นักลงทุนทั่วโลกผวา หลัง Trump ทวีตเตือน TOYOTA

Donald Trump ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ทวีตโจมตีการลงทุนโรงงานประกอบรถยนต์ใหม่ของ TOYOTA ในเม็กซิโก เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2017 โดยมีใจความระบุถึงการคัดค้านการตั้งโรงงานฯ ดังกล่าวและให้มาจัดตั้งในสหรัฐฯ แทน ไม่เช่นนั้นจะโดนเพิ่มภาษีนำเข้า ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการพาดพิงถึงนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีทวีตในลักษณะเดียวกันถึง FORD และ GM จนทำให้ FORD ได้ประกาศยกเลิกโปรเจคในเม็กซิโกและเตรียมจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ แทนในเวลาต่อมา นอกจากนั้น จากข้อมูลการสำรวจของหนังสือพิมพ์ NIKKEI กับนักธุรกิจจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พบว่ามากกว่า 40% มีความกังวลต่อนโยบายการค้าของ Trump และเหตุการณ์ล่าสุดนี้น่าจะเพิ่มความวิตกกังวลแก่นักลงทุนมากขึ้น

ผู้เขียน: นันทพงศ์ พันทวีศักดิ์ และ โกญจนาท เถื่อนมูลแสน 

 

101026844-s.jpg

 

Event.png

885_20100622103059.gif

  • Donald Trump ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ทวีตโจมตีการลงทุนโรงงานประกอบรถยนต์ใหม่ของ TOYOTA ในเม็กซิโก เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2017 โดยมีใจความระบุถึงการคัดค้านการตั้งโรงงานฯ ดังกล่าวและให้มาจัดตั้งในสหรัฐฯ แทน ไม่เช่นนั้นจะโดนเพิ่มภาษีนำเข้า ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการพาดพิงถึงนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีทวีตในลักษณะเดียวกันถึง FORD และ GM จนทำให้ FORD ได้ประกาศยกเลิกโปรเจคในเม็กซิโกและเตรียมจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ แทนในเวลาต่อมา นอกจากนั้น จากข้อมูลการสำรวจของหนังสือพิมพ์ NIKKEI กับนักธุรกิจจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พบว่ามากกว่า 40% มีความกังวลต่อนโยบายการค้าของ Trump และเหตุการณ์ล่าสุดนี้น่าจะเพิ่มความวิตกกังวลแก่นักลงทุนมากขึ้น 
Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • แผนการผลิตรถยนต์ทั่วโลกอาจจะเปลี่ยนไป หากนโยบายย้ายฐานการผลิตมาที่สหรัฐฯ เกิดขึ้นจริง ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ผู้ผลิตวางแผนผลิตรถยนต์รุ่นหนึ่งๆ จากโรงงานในไม่กี่ประเทศเพื่อส่งออกไปทั่วโลก และใช้ชิ้นส่วนร่วมกันระหว่างรุ่นต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการผลิตปริมาณมาก ทำให้มีผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ไม่กี่รายที่จะผลิตชิ้นส่วนในปริมาณมากตามไปด้วย แต่นโยบายของ Trump จะเน้นให้ลดการนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนจากประเทศอื่น หากค่ายรถยนต์ใหญ่ๆ อย่าง TOYOTA ต้องดำเนินตามนโยบายดังกล่าวด้วยแล้ว จะส่งผลให้มีการชะลอและปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนในประเทศอื่นรวมถึงไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ โดยเฉพาะโครงการอีโคคาร์ที่ปัจจุบันมีการพึ่งพาการส่งออกอย่างมากราว 300,000 คันต่อปี ซึ่งมากกว่ายอดขายในประเทศกว่าสามเท่า ในจำนวนนี้มีรถยนต์อีโคคาร์ที่ส่งไปสหรัฐฯ โดยตรงถึง 32,000 คัน

  • อีไอซีมองอาจเป็นผลดีแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนบ้างในระยะสั้น แต่ต้องเตรียมปรับตัว ปัจจุบันไทยมีการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์และอุปกรณ์ตกแต่งไม่รวมยางล้อไปสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงสุด คิดเป็น 13% ของทั้งหมด โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องยนต์สันดาปและสายไฟ และหากรวมยางล้อแล้วจะมีสัดส่วนถึง 18% การเพิ่มภาษีนำเข้าจากเม็กซิโกอาจส่งผลให้การนำเข้าชิ้นส่วนจากไทยเพิ่มขึ้น คล้ายกับกรณีที่ยางล้อจีนโดนมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดซึ่งทำให้มีการนำเข้าจากไทยมากขึ้น แต่หากมีการจัดตั้งโรงงานใหม่ที่สหรัฐฯ ในภายหลังปริมาณที่เพิ่มมานี้ก็จะหายไป รวมถึงปริมาณการผลิตที่จะหายไปจากจำนวนรถยนต์ที่ผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ด้วย
Implication.png

886_20100622103105.gif

  • อีไอซีแนะผู้ผลิตชิ้นส่วนเร่งพัฒนาการผลิตชิ้นส่วน ODM และ REM หรือขยายธุรกิจด้านบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือความเสี่ยงจากการสูญเสียตลาดส่งออก ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ควรลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อออกแบบชิ้นส่วนได้ด้วยตัวเอง (ODM) ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ต่างชาติ เพราะค่ายรถยนต์จะยังมีความจำเป็นในการใช้ชิ้นส่วนนั้นๆ อยู่แม้ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตก็ตาม ในขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ขนาดเล็กกว่าอาจเน้นการพัฒนาด้านชิ้นส่วนทดแทนและอุปกรณ์ตกแต่ง (REM) สำหรับตลาดภายในประเทศหรือในภูมิภาค รวมถึงธุรกิจด้านบริการอย่างการซ่อมบำรุง

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ