SHARE
SCB EIC ARTICLE
13 ตุลาคม 2016

นโยบายภาครัฐ ไตรมาส 4/2016

เผยแพร่ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 4/2016

คลิกอ่านฉบับเต็ม 

 

ThinkstockPhotos-112804313.jpg

 

การเบิกจ่ายภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ การเบิกจ่ายของรัฐบาลสำหรับงบประมาณรายจ่ายปี 2016 ยังทำได้ดีต่อเนื่อง โดยอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรวมใน 10 เดือนแรกของปีงบประมาณอยู่ที่ 80.2% เข้าใกล้เป้าหมายทั้งปีที่ 96% (รูปที่ 18) ขณะที่งบรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 56% ของงบลงทุนรวมซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าที่ 52% ทั้งนี้ การลงทุนภาครัฐช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่อเนื่องในโครงการที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นโครงการเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน รวมถึงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ขณะที่โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่ได้มีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

 

เม็ดเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากที่ได้เร่งเบิกจ่ายไปแล้วก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2015 ถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมามากกว่า 20 มาตรการ รวมวงเงินกว่า 6.7 แสนล้านบาท ซึ่งมีทั้งการให้เงินช่วยเหลือ เงินลงทุน หรือเงินกู้ต่างๆ โดยได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้ว 4.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ คาดการณ์การเบิกจ่ายในช่วงครึ่งปีหลังอีกเพียง 1 แสนล้านบาท (รูปที่ 19) อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ยังไม่ได้ช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในส่วนอื่น (crowding in effect) มากนัก

 

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังมีความพยายามดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้เม็ดเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ออกมาเป็นจำนวนมากจะเริ่มทยอยหมดไปแล้ว แต่รัฐบาลยังคงพยายามเร่งการเบิกจ่ายและออกมาตรการเพิ่มเติม โดยล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคมมีมติเห็นชอบมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2016 ที่สำคัญ 3 มาตรการ

 

 

 

 

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ