SHARE
FLASH
14 กันยายน 2016

กนง. คงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% มองเงินบาทแข็งค่า อาจไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 14 กันยายน 2016

ผู้เขียน: ณฐกร วิสุทธิโก

 

Analysis.png

keypoint.jpg

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 14 กันยายน 2016

  • เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในและต่างประเทศ เศรษฐกิจขยายตัวโดยมีภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำและการส่งออกหดตัวลงตามเศรษฐกิจเอเชีย ขณะที่คุณภาพของสินเชื่อในบางภาคธุรกิจด้อยลงในระยะข้างหน้า

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มกลับสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งปีหลัง

  • ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลาย ในขณะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับคู่ค้าสำคัญซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

  • ความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักมีมากขึ้น ส่งผลต่อความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน

 

Implication.png

886_20100622103105.gif

อีไอซีคาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% ตลอดปี 2016

  • เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

  • เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space)

 

ตารางสรุปคำแถลงการณ์ของ ธปท. เทียบกับการประชุมครั้งก่อน 

 

หัวข้อ การประชุมครั้งก่อน
(3 ส.ค. 2016)
การประชุมครั้งนี้
(14 ก.ย. 2016)
เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการใช้จ่ายภาครัฐและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ตามรายได้และความเชื่อมั่นของครัวเรือนในภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้น แต่การลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ และการส่งออกสินค้ายังคงหดตัวตามเศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอลงมากกว่าที่คาด ความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศสูงขึ้น เช่น ความไม่แน่นอนภายหลัง Brexit ปัญหาภาคการเงินในยุโรป และพัฒนาการทางการเมืองในต่างประเทศ ในขณะที่ความเสี่ยงในภาคการเงินจีนยังมีอยู่ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในและต่างประเทศ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี ส่วนหนึ่งจากปัจจัยชั่วคราวและมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ ภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐยังคง เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง ในด้านการลงทุนภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าหดตัวตามเศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอลงและปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย ขณะที่คุณภาพของสินเชื่อในบางภาคธุรกิจด้อยลงในระยะข้างหน้า
สถานการณ์เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสดเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย

แต่ระยะเวลาอาจเลื่อนออกไปบ้างขึ้นอยู่กับทิศทางของราคาน้ำมันโลกเป็นสำคัญ

อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายภายในปีนี้ตามที่คาดไว้เดิม โดยในเดือนสิงหาคมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวในระดับต่ำตามอุปสงค์ที่ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม
  1. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)
  2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง
  3. ความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก
  1. พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield)

  2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง

  3. ความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก

  4. พัฒนาการทางการเมืองในต่างประเทศ

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%
เหตุผลของกนง. นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอและต่อเนื่อง และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอและต่อเนื่อง และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space)

 

EIC_policy_rate2016_sep2016.jpg

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ