SHARE
FLASH
11 มีนาคม 2016

Rubber City ความหวังบนความท้าทายของวงการยางพาราไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ประกาศเชิญชวนให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2016 ณ งาน Global Rubber & Latex Expo 2016 (GRTE2016) และจะเร่งเครื่องพัฒนาก่อสร้างโครงการ Rubber City ให้เป็นไปตามนโยบาย super cluster ของรัฐบาล โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2018 ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคยางพาราในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ยางพาราขั้นกลางน้ำและปลายน้ำของไทยมีการขยายตัวมากขึ้น

ผู้เขียน: ธีระยุทธ ไทยธุระไพศาล

 

ThinkstockPhotos-12640998v2.jpg

 

 

Event.png

885_20100622103059.gif

  • การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ประกาศเชิญชวนให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2016 ณ งาน Global Rubber & Latex Expo 2016 (GRTE2016) และจะเร่งเครื่องพัฒนาก่อสร้างโครงการ Rubber City ให้เป็นไปตามนโยบาย super cluster ของรัฐบาล โดยคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2018 ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคยางพาราในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ยางพาราขั้นกลางน้ำและปลายน้ำของไทยมีการขยายตัวมากขึ้น
Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • ในระยะเวลาใกล้เคียงกันมาเลเซียก็มีการผลักดัน Kedah’s Rubber City ให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน จากข้อมูลของ Ku Abdul Rahman State Government ของมาเลเซีย คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ โดยโครงการนี้มีระยะห่างจากโครงการ Rubber City ของไทยราว 80 กิโลเมตร ทั้งนี้ ภายในปี 2025 มาเลเซียมองว่าจะสามารถขยายพื้นที่โครงการได้มากราว 6 ล้านตารางเมตร ขณะที่ปัจจุบันไทยมีพื้นที่โครงการราว 2 ล้านตารางเมตร (ไม่รวมเนื้อที่ของโครงการอุตสาหกรรมภาคใต้ที่มีอยู่เดิม 3.8 ล้านตารางเมตร) ทั้งนี้ อินโดนีเซียก็กำลังศึกษาโครงการ Rubber City ด้วยเช่นกัน


  • อีไอซีมองว่าอุตสาหกรรมยางพาราไทยจะมีการขยายตัวได้ดีในอนาคต หากมีการร่วมมือกับมาเลเซียและอินโดนีเซียในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ ก่อนหน้านี้ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (ผลผลิตรวมกันราว 60% ของยางพาราทั่วโลก) ได้จับมือกันลดปริมาณการส่งออกยางพารา ภายใต้ข้อตกลงที่จะใช้มาตรการส่งเสริมยางพาราในประเทศให้เพิ่มขึ้นตามความร่วมมือไตรภาคียางพารา โดยมองว่าความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบที่มาถูกทางแล้ว เนื่องจากจะช่วยให้ปริมาณอุปทานในตลาดโลกลดลงได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การร่วมมือกันระหว่างสามประเทศในเชิงของพันธมิตร ด้วยการพัฒนาจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อนร่วมกัน จะส่งผลให้อุตสาหกรรมยางพาราไทยในระยะยาวมีการขยายตัวได้ดีตามลำดับ
Implication.png

886_20100622103105.gif

  • อีไอซีแนะนักลงทุนควรศึกษาแผนการลงทุนทั้ง 2 ประเทศให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากการสร้างโครงการที่มีลักษณะคล้ายกันและระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น ข้อเสนอต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่นักลงทุนของแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกัน โดยหากนักลงทุนเลือกข้อเสนอที่เหมาะสมก็จะสร้างประโยชน์กับนักลงทุนได้ในระยะต่อไป


  • นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพาราไทยควรมองหาแนวทางในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ธุรกิจ (value chain) จากความร่วมมือกันระหว่างประเทศ ทั้งนี้ หากความร่วมมือไตรภาคียางพารามีความแข็งแกร่งและเหนียวแน่นมากขึ้น value chain ของยางพาราทั้งระบบจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบ cluster มากขึ้นในอนาคต ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ