SHARE
FLASH
03 กุมภาพันธ์ 2016

กนง. คงดอกเบี้ยครั้งนี้ที่ 1.5% ตามตลาดคาด

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2016

ผู้เขียน: ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ และ ณฐกร วิสุทธิโก

Event.png

885_20100622103059.gif

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2016
Analysis.png

884_20100622103051.gif

  • เศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัวจากมาตรการภาครัฐและจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น

  • แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงตามราคาน้ำมัน โดยเงินเฟ้อทั่วไปจะสามารถกลับเป็นบวกได้ ในครึ่งปีแรกของปีนี้
Implication.png

886_20100622103105.gif

อีไอซีคาด กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% ตลอดปี 2016

  • เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว

  • เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้ายังมีความไม่แน่นอนอยู่มากซึ่งกดดันต่อการส่งออก

  • เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (Policy Space)

 

ตารางสรุปคำแถลงการณ์ของ ธปท. เทียบกับการประชุมครั้งก่อน 

 

หัวข้อ การประชุมครั้งก่อน
(16 ธ.ค. 2015)
การประชุมครั้งนี้
(3 ก.พ. 2016)
เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจ ไทยในไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยมีแรงสนับสนุนหลักจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ทำได้ดีต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวทยอยปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การส่งออกยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยในระยะต่อไปยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเอเชีย รวมทั้งแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ   ไตร มาส 4 ปี 2015 ทยอยฟื้นตัวจากแรงสนับสนุนภาครัฐที่ทำได้ดีต่อเนื่อง ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางดีขึ้นโดยส่วนหนึ่งเป็นผลชั่วคราวจาก มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช่วงก่อนปีใหม่ และการเร่งซื้อรถยนต์ก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ในขณะที่มูลค่าการส่งออกยังคงหดตัว
สถานการณ์เงินเฟ้อ "แรง กดดันเงินเฟ้อปรับลดลงเล็กน้อยจากการประชุมครั้งก่อน ตามราคาน้ำมันโลกที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้นและจะกลับมาเป็นบวกในช่วงครึ่ง แรกของปีหน้า ขณะที่ความเสี่ยงของภาวะเงินฝืดมีจำกัด แรง กดดันเงินเฟ้อลดลงจากการลดลงของราคาน้ำมัน เนื่องจากราคาน้ำมันโลกปรับลดลงเร็วและมากกว่าที่ กนง.ประเมินไว้ ทำให้ความเสี่ยงต่อเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะยังติดลบในปัจจุบันทว่าจะสามารถกลับเป็นบวกได้ใน ครึ่งปีแรกของปีนี้ ในขณะที่ความเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืดจำกัด
ความเสี่ยงที่ กนง. ติดตาม 1. การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจจีน และเอเชีย
2. ข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง
3. ความผันผวนของภาวะตลาดการเงินโลก
1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลัก
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก
3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ
4. ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% มติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%
เหตุผลของกนง. ภาวะการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนยังเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มติ เอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%นโยบายการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรน และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space)

 

 

policy_rate2016_jan_v8-01.jpg

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ