SHARE
ECONOMIC OUTLOOK / SCB EIC MONTHLY
25 มกราคม 2016

Outlook ไตรมาส 1/2016

อีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2016 จะเติบโต 2.5% เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังคงขาดปัจจัยโดดเด่นที่จะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ถึงระดับศักยภาพ โดยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2016 จะต้องหันมาพึ่งพาอุปสงค์จากภายในมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทุนภายในประเทศ ทั้งจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่มีการตั้งงบประมาณลงทุนเพิ่มสูงขึ้น 20% จากในปี 2015 และการลงทุนของภาคเอกชนที่จะกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวในปี 2015 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล เช่น มาตรการเร่งรัดโครงการ PPP และ การเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนผ่านสิทธิประโยชน์จาก BOI เป็นต้น ด้านการบริโภค ถึงแม้ว่า ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยให้การบริโภคในหมวดสินค้าไม่คงทนและความมั่นใจผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น แต่น่าจะมีผลแค่ในระยะสั้น เนื่องจากยังคงมีแรงกดดันจากรายได้เกษตรกรที่ตกต่ำประกอบกับภัยแล้งที่จะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตในปี 2016 อีกทั้ง หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจที่จะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าคือ ภาคการท่องเที่ยวที่จะมีปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นถึง 9% นำโดยนักท่องเที่ยวจีน

hires_EIC_Outlook1Q2016.jpg
  • ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2016
  • Bull - Bear: ราคาน้ำมัน 
  • In focus: ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย...
    นัยต่อตลาดเงินและเศรษฐกิจไทย
  • In focus: ความกังวลเรื่องหนี้ของภาคธุรกิจไทย 
  • Special issues:
    • FED Monetary Policy Normalization
    • เหตุใดบริษัทในญี่ปุ่นกำไรพุ่งแต่ค่าแรงกลับขยับขึ้นช้า
    • อนาคตจีนภายใต้แผนเศรษฐกิจ 5th Plenum
    • คิกออฟนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย
    • ย้อน 6 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • Summary of main forecasts


ดาวน์โหลดเอกสารภาษาไทยเพื่ออ่านต่อฉบับเต็ม



ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2016

อีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2016 จะเติบโต 2.5% เศรษฐกิจไทยปีนี้ยังคงขาดปัจจัยโดดเด่นที่จะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ถึงระดับศักยภาพ โดยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2016 จะต้องหันมาพึ่งพาอุปสงค์จากภายในมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทุนภายในประเทศ ทั้งจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่มีการตั้งงบประมาณลงทุนเพิ่มสูงขึ้น 20% จากในปี 2015 และการลงทุนของภาคเอกชนที่จะกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวในปี 2015 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล เช่น มาตรการเร่งรัดโครงการ PPP และ การเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนผ่านสิทธิประโยชน์จาก BOI เป็นต้น ด้านการบริโภค ถึงแม้ว่า ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยให้การบริโภคในหมวดสินค้าไม่คงทนและความมั่นใจผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น แต่น่าจะมีผลแค่ในระยะสั้น เนื่องจากยังคงมีแรงกดดันจากรายได้เกษตรกรที่ตกต่ำประกอบกับภัยแล้งที่จะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตในปี 2016 อีกทั้ง หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจที่จะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าคือ ภาคการท่องเที่ยวที่จะมีปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นถึง 9% นำโดยนักท่องเที่ยวจีน


Bull - Bear: ราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบในใตรมาส 1 ปี 2016 ยังมีแนวโน้มลดต่ำลงอีก หลังจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 7 ปี ในไตรมาส 4 ปี 2015 จากความกังวลถึงภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดที่เพิ่มมากขึ้นจากกลุ่ม OPEC เป็นหลัก โดยอีไอซีมองว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2016 ราคาน้ำมันดิบยังคงโดนกดดันจากภาวะอุปทานส่วนเกิน เนื่องจากอุปทานน้ำมันดิบจากกลุ่ม OPEC ยังมีแนวโน้มเพิ่มระดับสูงขึ้น จากนโยบายคงปริมาณการผลิตในระดับสูงของกลุ่ม รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรของอิหร่านที่จะได้รับการผ่อนปรน จะส่งผลให้อิหร่านสามารถกลับมาเพิ่มปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2015 เป็นอีกปัจจัยที่จะกดดันราคาน้ำมันดิบให้อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตาดูปัจจัยอื่นๆ ทั้งการที่ผู้ผลิตกลุ่ม Non-OPEC อย่างสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลง ปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลางที่รุนแรงและขยายวงกว้าง การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความขัดแย้งภายในกลุ่ม OPEC จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนต่อไปในปี 2016


In focus: ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย...นัยต่อตลาดเงินและเศรษฐกิจไทย

ในการประชุมเดือนธันวาคม 2015  ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 basis points ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งแรกหลังจากคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0% เป็นเวลา 7 ปี โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในกรอบ 0.25%-0.50% ซึ่งนับเป็นการเริ่มการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ (monetary policy normalization) อย่างเป็นทางการ โดยอีไอซีคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ   จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 50-100 basis points ในปี 2016 อย่างไรก็ตาม  อีไอซีประเมินว่าในปีนี้  การไหลออกของเงินทุนจะไม่รุนแรง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ราว 5 หมื่นล้านบาท และเงินบาทจะอ่อนค่าลงอยู่ที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อีไอซีคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายและดอกเบี้ยระยะสั้นมีแนวโน้มคงตัว ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (government bonds yield) ระยะกลางและยาวของไทยปรับตัวสูงขึ้นตามแรงกดดันของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ


In focus: ความกังวลเรื่องหนี้ของภาคธุรกิจไทย
เมื่อกลางปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ได้ออกรายงานเตือนว่า ระดับหนี้ของภาคธุรกิจในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่หรือ emerging market กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนอาจทำให้ภาคธุรกิจในภูมิภาคประสบปัญหาทางการเงินในสภาวะที่เงินทุนกำลังไหลออกจากภูมิภาคและต้นทุนการกู้ยืมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น คำถามหนึ่งที่สำคัญคือ ภาคธุรกิจของไทยมีภาระหนี้สูงดังข้อสังเกตดังกล่าวจริงหรือไม่ กิจการเหล่านี้มีความสามารถที่รับมือกับภาระหนี้ในระดับนี้ได้เพียงไรและสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องอย่างไร

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ