เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
EIC ANALYSIS
TOPICS
ASEAN
BREXIT
CLMV
EXPORT
TRADE
US ELECTION
เศรษฐกิจไทย
PRODUCTS
OUTLOOK
INSIGHT
INFOGRAPHIC
NOTE
FLASH
INTERESTING TOPICS
MACROECONOMICS
INDUSTRIES
AGRICULTURAL COMMODITIES
AUTOMOTIVE AND PARTS
BUILDING MATERIALS
CONSTRUCTION
CONSUMER PRODUCTS
ELECTRONICS AND ELECTRICAL APPLIANCES
FINANCIAL INSTITUTIONS
FOOD AND BEVERAGE
HOSPITALITY AND SERVICES
OIL AND GAS
PETROCHEMICAL
POWER AND ALTERNATIVE ENERGY
REAL ESTATE
TELECOMMUNICATIONS AND MEDIA
TRANSPORT AND LOGISTICS
WHOLESALE AND RETAIL
EVENTS & CALENDAR
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
EIC ANALYSIS
TOPICS
ASEAN
BREXIT
CLMV
EXPORT
TRADE
US ELECTION
เศรษฐกิจไทย
PRODUCTS
OUTLOOK
INSIGHT
INFOGRAPHIC
NOTE
FLASH
INTERESTING TOPICS
MACROECONOMICS
INDUSTRIES
AGRICULTURAL COMMODITIES
AUTOMOTIVE AND PARTS
BUILDING MATERIALS
CONSTRUCTION
CONSUMER PRODUCTS
ELECTRONICS AND ELECTRICAL APPLIANCES
FINANCIAL INSTITUTIONS
FOOD AND BEVERAGE
HOSPITALITY AND SERVICES
OIL AND GAS
PETROCHEMICAL
POWER AND ALTERNATIVE ENERGY
REAL ESTATE
TELECOMMUNICATIONS AND MEDIA
TRANSPORT AND LOGISTICS
WHOLESALE AND RETAIL
EVENTS & CALENDAR
ไทย
Eng
ค้นหา...
ภาษาไทย
English
EIC Analysis / Flash
GDP ไตรมาส 3 ขยายตัว 2.9% จากการใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาครัฐ
16 พฤศจิกายน 2015
ผู้เขียน:
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ และ ธนกร ลิ้มวิทย์ธราดล
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 3 ปี 2015 ขยายตัว 2.9%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า) เร่งขึ้นจาก 2.8%YOY ในไตรมาสก่อน และขยายตัวได้ 1.0%QOQSA (เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล) ดีขึ้นจาก 0.3%QOQSA ในไตรมาส 2 โดยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 นี้ถือว่าดีกว่าที่คาด
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มีแรงสนับสนุนหลักจากการใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาครัฐ
แม้ว่ารายได้ที่แท้จริงของเกษตรกรและค่าจ้างแรงงานนอกภาคเกษตรโดยเฉลี่ยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่การบริโภคภาคเอกชนไทย (ไม่รวมนักท่องเที่ยวต่างประเทศ) ยังขยายตัวได้ 1.5%YOY ในไตรมาส 3 ไม่ได้ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือว่าดีกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมาก โดยการบริโภคสินค้าไม่คงทนเติบโตดีขึ้นเล็กน้อย เช่น อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 2.6%YOY จาก 2.5%YOY ในไตรมาสก่อน และหมวดที่อยู่อาศัย ประปา และไฟฟ้า เติบโต 4.0%YOY จาก 3.0%YOY ขณะเดียวกัน การลงทุนภาครัฐขยายตัว 15.9%YOY แม้จะชะลอลงจากไตรมาสก่อนแต่ก็ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก โดยในไตรมาส 3 มีการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในโครงการจัดการน้ำและขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน
การลงทุนภาคเอกชนหดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อน
การลงทุนด้านการก่อสร้างที่หดตัว 0.3%YOY จากที่เติบโต 2.7%YOY ในไตรมาส 2 จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่ลดลง นอกจากนี้ การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรก็หดตัวสูงถึง 8.5%YOY รุนแรงกว่าไตรมาสก่อนที่ลดลง 4.8%YOY เนื่องจากกำลังซื้อของครัวเรือน การส่งออก และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว
ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวลงจากเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร
โดยเศรษฐกิจภาคบริการโรงแรมและภัตตาคารชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 10.9%YOY จาก 18.7%YOY ในไตรมาสก่อน รวมถึงการบริการขนส่งชะลอตัวลงเหลือ 7.1%YOY จาก 9.4%YOY ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงจากเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร
ภาคอุตสาหกรรมเติบโตสูงกว่าที่คาดไว้มาก
การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตเป็นบวก 0.8%YOY ทำให้ GDP ไตรมาส 3 เติบโตสูงกว่าที่อีไอซีประเมินไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ผ่านมาไม่ได้มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาหดตัวถึง 6.1%YOY
ดุลการค้าและบริการเกินดุลสูงขึ้นจากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นและการนำเข้าที่ลดลง
ปริมาณการส่งออกสินค้าหดตัวลดลงเหลือ -1.9%YOY จาก -4.0%YOY ในไตรมาสก่อน และปริมาณการนำเข้าสินค้าที่หดตัวมากขึ้นเป็น -3.3%YOY ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลสูงขึ้น ชดเชยดุลบริการที่ลดลงจากการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว
เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ยังคงเปราะบางจากปัจจัยลบด้านรายได้
เศรษฐกิจไทยใน 3 ไตรมาสแรกเติบโตได้ 2.9% ซึ่งถือว่าดีกว่าที่อีไอซีประมาณการไว้เดิม ทำให้มีโอกาสที่การเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้อาจสูงกว่าที่อีไอซีประเมินไว้ ที่ 2.2% ในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ ในระยะต่อไป แรงขับเคลื่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐน่าจะเริ่มเห็นผลบวกต่อ เศรษฐกิจ และช่วยกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนได้บ้าง ขณะที่การท่องเที่ยวก็น่าจะเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ตกต่ำ และความเสี่ยงจากภาวะภัยแล้งในปีหน้าเป็นปัจจัยลบที่สำคัญต่อรายได้ของภาค เอกชน ซึ่งจะยังฉุดรั้งการบริโภคภาคครัวเรือน นอกจากนี้ การส่งออกยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศกำลังพัฒนา อื่นๆ ต่อไป
Thailand
,
GDP
,
Export
,
Trade
,
Tourism
DOWNLOAD FILE
Flash_THA_GDP 3Q2015 final
.PDF (198 K)
RELATED
นัยของมาตรการปิดอ่าวมาหยาต่อการปรับตัวของภาคการท่องเที่ยวไทย
05 เม.ย. 2018
ราคาน้ำมันดันเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น แต่เงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว
02 เม.ย. 2018
กนง. คงดอกเบี้ย มองเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่อง พร้อมปรับคาดการณ์ทั้งปีโต 4.1%
28 มี.ค. 2018
สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนส่อแววปะทุ หลังสหรัฐฯ เล็งขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
23 มี.ค. 2018
Fed ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด มองเศรษฐกิจโตดีขึ้นพร้อมขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้
22 มี.ค. 2018
ส่งออกไทยเดือน ก.พ. โตต่อที่ 10.3% อีไอซีแนะจับตาบาทแข็ง-นโยบายกีดกันทางการค้าสหรัฐฯ
21 มี.ค. 2018
จับตาเหล็กนอกไหลเข้าไทย หลังทรัมป์เรียกเก็บ safeguard
09 มี.ค. 2018
Italexit ไม่น่ากังวล แม้พรรค M5S ผู้ต่อต้าน EU ชนะการเลือกตั้งอิตาลี
06 มี.ค. 2018
เงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.พ. ชะลอลงตามเงินบาทที่แข็งค่า
02 มี.ค. 2018
ส่งออกไทยพุ่งรับศักราชใหม่ เดือน ม.ค. โต 17.6% สูงสุดในรอบ 62 เดือน
21 ก.พ. 2018