 |
- ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2015 และ 2016
- Bull - Bear: ราคาน้ำมัน
- In focus: มาเลเซียจะเผชิญกับวิกฤติดุลการชำระเงินหรือไม่?
- In focus: เจาะลึกแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชน
- Special issues:
- ความคืบหน้าของนโยบายธนูดอกที่ 3 (The Third Arrow)
- ทิศทางทุนสำรองระหว่างประเทศกับแนวโน้มค่าเงินหยวน
- สำรวจบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก อุตสาหกรรมใดบ้างในโลก
ที่ยังขยายตัวได้ดีและไม่ได้หยุดการลงทุน
- Summary of main forecasts
ดาวน์โหลดเอกสารภาษาไทยเพื่ออ่านต่อฉบับเต็ม
|
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2015 และ 2016
อีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2.2% ในปี 2015 เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีมีทิศทางชะลอตัว โดยการบริโภคภาคเอกชนยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน จากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงกดดันการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ด้วยทิศทางเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวประกอบกับความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ลดลงทำให้การลงทุนภาคเอกชนกลับมาหดตัวในไตรมาส 2 ทั้งนี้มาตรการอัดฉีดของรัฐบาลหลังจากที่มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ในเดือนกันยายนจะช่วยเรื่องความมั่นใจและเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจได้บ้าง โดยน่าจะเห็นผลในระยะต่อไป ทางด้านการส่งออกยังคงหดตัวต่อเนื่องตลอด 8 เดือนแรกของปีทั้งจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายนอกและปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น การย้ายฐานการผลิตและสินค้าเทคโนโลยีล้าสมัย
Bull - Bear: ราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบในใตรมาส 4 ปี 2015 มีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำ หลังจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงอีกครั้งในไตรมาส 3 เนื่องจากความกังวลถึงปัญหาอุปทานส่วนเกินของน้ำมันดิบที่เพิ่มมากขึ้น และเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง คาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันต่อเนื่องในระยะสั้นถึงระยะกลาง โดยอีไอซีมองว่าการที่ผู้ผลิตกลุ่ม Non-OPEC นำโดยสหรัฐฯ และรัสเซีย เริ่มมีการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลง จะช่วยให้ปัญหาอุปทานส่วนเกินบรรเทาลง และยังช่วยพยุงราคาน้ำมันดิบให้กลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานน้ำมันยังคงมีอยู่ เนื่องจากกลุ่ม OPEC ยังไม่มีท่าทีในการเปลี่ยนกลยุทธ์ และยังคงการผลิตไว้ในระดับเดิม อีกทั้ง มาตรการคว่ำบาตรของอิหร่านที่จะสิ้นสุดลง จะส่งผลให้อิหร่านสามารถกลับมาเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบได้ รวมถึง ความกังวลกับการเพิ่มขึ้นของอุปทานน้ำมันจากผู้ผลิตรายอื่นในกลุ่ม Non-OPEC เช่น แคนาดา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันราคาน้ำมันดิบต่อไป
In focus: มาเลเซียจะเผชิญกับวิกฤติดุลการชำระเงินหรือไม่?
ประเทศตลาดเกิดใหม่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ โดยมาเลเซียเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาคเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของมาเลเซียมีปัญหา ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือน้อยและอาจเกิดวิกฤติดุลการชำระเงินได้หากมาเลเซียยังคงแทรกแซงค่าเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมาเลเซียเกิดวิกฤติย่อมส่งผลกระทบมายังประเทศไทยที่มีความใกล้ชิดสูงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน ขณะเดียวกัน นอกจากมาเลเซียแล้ว ประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ อย่างแอฟริกาใต้และตุรกีก็เป็นอีกประเทศที่มี ความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง
In focus: เจาะลึกแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชน
ในรอบหลายปีที่ผ่านมา การลงทุนภาคเอกชนไทยได้ชะลอตัวลงและส่งผลทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวในอัตราที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ในเวลาที่เศรษฐกิจในประเทศดูเหมือนกำลังขาดแคลน “Growth Engine” หรือเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโต โจทย์ข้อหนึ่งที่หลายคนสงสัย คือ ณ ขณะนี้ ในไทยยังมีกลุ่มธุรกิจหรือกลุ่มอุตสาหกรรมใดที่ยังลงทุนอยู่หรือไม่ และอยู่ที่ใดบ้าง และเมื่อใดที่เอกชนไทยจะกลับมาเร่งลงทุนอีกครั้ง
|
สมัครสมาชิกฟรีเพื่อรับข่าวสาร
การแจ้งเตือนทางอีเมลเกี่ยวกับข่าวด่วน,ดาวน์โหลดเอกสารและอื่น ๆ
เข้าถึงสิ่งพิมพ์ที่ผ่านมาทั้งหมด
DETAIL_REGISTER_TEXT4