SHARE
ECONOMIC OUTLOOK / SCB EIC MONTHLY
03 ตุลาคม 2014

Outlook ไตรมาส 4/2014

อีไอซีคงประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2014 ไว้ที่ 1.6% เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเริ่มทรงตัวและมีสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้นตามที่คาดไว้ แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้จะมาจากการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการเร่งใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐเป็นหลัก อีกทั้งยังเสริมด้วยภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อสถานการณ์ในประเทศ ส่วนการส่งออกและการบริโภคภาคครัวเรือนน่าจะขยายตัวได้เล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งปัจจัยข้างต้นจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับปี 2015 ที่ อีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4.8% ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีและโครงสร้างราคาพลังงาน รวมถึงการผลักดันโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นต้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงในต่างประเทศที่สำคัญคือการปรับทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากจะไม่มีมาตรการ QE อีกต่อไปแล้ว ยังจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปีอีกด้วย โดยอีไอซีคาดว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้นเพราะมุมมองของนักลงทุนต่อช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีความอ่อนไหวต่อข้อมูลเศรษฐกิจค่อนข้างมาก และยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมีโอกาสปรับขึ้นในปี 2015


Outlook_4Q14.png

Outlook ไตรมาส 4/2014
 

1034_20100719093921.gif  ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2014 และ 2015 
1034_20100719093921.gif  Bull - Bear: ราคาน้ำมัน 
1034_20100719093921.gif  In focus
    1034_20100719093921.gif  ขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในเวทีโลก 
1034_20100719093921.gif  Summary of main forecasts

 

สมัครสมาชิก เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

1034_20100719093921.gif  ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2014 และ 2015 

อีไอซีคงประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2014 ไว้ที่ 1.6% เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเริ่มทรงตัวและมีสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้นตามที่คาดไว้ แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้จะมาจากการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการเร่งใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐเป็นหลัก อีกทั้งยังเสริมด้วยภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อสถานการณ์ในประเทศ ส่วนการส่งออกและการบริโภคภาคครัวเรือนน่าจะขยายตัวได้เล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งปัจจัยข้างต้นจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับปี 2015 ที่ อีไอซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 4.8% ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีและโครงสร้างราคาพลังงาน รวมถึงการผลักดันโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นต้น ส่วนการเปลี่ยนแปลงในต่างประเทศที่สำคัญคือการปรับทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งนอกจากจะไม่มีมาตรการ QE อีกต่อไปแล้ว ยังจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปีอีกด้วย โดยอีไอซีคาดว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้นเพราะมุมมองของนักลงทุนต่อช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีความอ่อนไหวต่อข้อมูลเศรษฐกิจค่อนข้างมาก และยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมีโอกาสปรับขึ้นในปี 2015

1034_20100719093921.gif  Bull - Bear: ราคาน้ำมัน 

ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 4 และปี 2015 มีแนวโน้มทรงตัวถึงอ่อนค่าลงเล็กน้อย เนื่องจากอุปทานน้ำมันในตลาดโลกมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งอุปทานส่วนใหญ่มาจากประเทศกลุ่ม Non-OPEC ในขณะที่อุปสงค์น้ำมันขยายตัวช้ากว่า แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยให้ความต้องการบริโภคน้ำมันสูงขึ้น แต่เศรษฐกิจจีนและยุโรปยังค่อนข้างทรงตัว อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นฤดูหนาว อุปสงค์น้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นตามฤดูกาลจะช่วยพยุงราคาน้ำมันเอาไว้ นอกจากนี้ ยังต้องจับตาสถานการณ์ในรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงความตึงเครียดทางการเมืองในอิรัก และซีเรีย ที่อาจทำให้เกิดการตึงตัวของอุปทานน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบทะยานสูงขึ้นได้

1034_20100719093921.gif  In focus

    1034_20100719093921.gif  ขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในเวทีโลก

ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงอย่างมากจากช่วงก่อนหน้าจากผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ที่ขยายตัวในอัตราที่ช้าลง ขณะที่โครงสร้างสินค้าส่งออกเดิมไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่เริ่มฟื้นตัวแล้วได้ นอกจากนี้ อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยยังลดลงเมื่อเทียบกับนานาชาติจากปัญหาในด้านประสิทธิภาพของหน่วยงานและสถาบันภาครัฐ (institutions) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดความน่าลงทุนในไทย ทั้งการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (productivity) และการขยายการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันการวิเคราะห์ในระดับอุตสาหกรรมบ่งชี้ว่าไทยควรขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต ปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและขยายตลาดในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตชะลอลง และยกระดับการผลิตในห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ให้สูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยมีความได้เปรียบ

 

ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ยอมรับ